หน้าแรก-กลุ่มสินค้า-สัตว์เลี้ยง & ต้นไม้-สวน & ต้นไม้-ต้นไม้-  

  การปลูกไม้เศรษฐกิจ  

การปลูกไม้เศรษฐกิจ



..............................................................................................................................

การปลูกไม้เศรษฐกิจ

ป่าไม้แบ่งออกตามการเกิดได้สองอย่างคือ ป่าธรรมชาติ และป่าปลูกหรือสวนป่า วัตถุประสงค์หลักของการปลูกสร้างสวนป่ามีสามประการคือ เพื่อการอนุรักษ์ (สวนป่าอนุรักษ์) เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ สวนป่านันทนาการ) และเพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (สวนป่าเศรษฐกิจ) สวนป่าทั้งสามประเภทนี้มีบทบาทความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะประเภทสุดท้ายนอกจากจะสนองวัตถุประสงค์หลักแล้ว ยังสนองวัตถุประสงค์รองในด้านการอนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งความเป็นพื้นที่สีเขียวควบคู่กันไปดังกล่าวแล้วอีกด้วย

ในทางเศรษฐกิจ สวนป่าเศรษฐกิจมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศสูงพอสมควร ปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยส่งออกเครื่องเรือนไม้ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ยางพารา มีมูลค่าสูงถึง 42,631 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไม้ก็สร้างแรงงานได้ราว แสนคน ทั้งนี้ยังไม่รวมไม้เพื่อการพลังงานซึ่งมีความต้องการ ( พ .ศ. 2540) ราว 20 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการไม้เพื่อการก่อสร้างซึ่งนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2543 มีมูลค่าประมาณ 16,020 ล้านบาท อันจะเห็นได้ว่าสวนป่าเศรษฐกิจเป็นธุรกิจระดับแสนล้านบาททีเดียว

ในการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจนั้น คำถามที่มักจะได้ยินอยู่เป็นประจำก็คือ ควรจะปลูกไม้อะไรดีหรือไม่ก็ถามว่า ไม้ ปลูกเป็นสวนป่าเศรษฐกิจได้หรือไม่ แต่ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าวให้ถูกต้องตามหลักวิชาวนวัฒนวิทยานั้น ผู้ตอบควรจะถามกลับไปอย่างน้อยสองข้อคือ
(1) จะปลูกทำไม ? และ
(2) จะปลูกที่ไหน?

คำถามข้อแรก แม้จะรู้ว่าปลูกเพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ทว่าไม้แต่ละชนิดสนองความต้องการด้านการใช้ประโยชน์ต่างกัน ไม้สักเหมาะสำหรับใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง ในขณะที่เครื่องเรือนจากไม้ยางพารา มีคุณภาพและราคาด้อยกว่าไม้สัก ไม้สนเขาให้เยื่อกระดาษเส้นใยยาว ส่วนไม้ยูคาลิปตัสเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นไม้สับและอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษเส้นใยสั้น นอกจากนี้ คำถามที่ว่าจะปลูกทำไมยังอาจจะมองไปถึงความต้องการผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของผู้ปลูกว่าต้องการในระยะสั้นหรือระยะยาว กล่าวคือ

จะปลูกป่าเศรษฐกิจเพื่อใช้เงินในวันนี้ หรือเพื่อสร้างมรดกไว้ให้ลูกหลานได้เงินในวันหน้า ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงไปถึงคำแนะนำในการเลือกชนิดไม้ปลูกว่าจะปลูกไม้โตช้าหรือไม้โตเร็ว คำว่า ไม้โตเร็ว ในหลักสากลนั้นจะต้องมีความเพิ่มพูนรายปีในรูปของเส้นรอบวงที่ระดับอกไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร แต่ไม้ในเมืองไทยส่วนใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก เพราะปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ เหมาะสมกับการเจริญเติบโต จึงได้กำหนดว่า ไม้โตเร็วจะต้องวัดเส้นรอบวงที่ระดับอกได้ 100 เซนติเมตร เมื่อมีอายุไม่เกิน 15 ปี หรือมีความเพิ่มพูนรายปีในรูปของเส้นรอบวงที่ระดับอกไม่น้อยกว่า 6.67 เซนติเมตร หรือมีความเพิ่มพูนในรูปของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอกไม่ต่ำกว่าปีละ 2.12 เซนติเมตร จากคำจำกัดความที่ว่านี้ ไม้สัก ไม้สนเขา ไม้ยูคาลิปตัส ไม้เพาโลว์เนียและไม้หูช้าง ต่างก็ถือว่าเป็นไม้โตเร็ว เพียงแต่ไม้สักมีอายุรอบหมุนเวียนในการตัดฟันยาวกว่าไม้สี่ชนิดหลัง ดังนั้น แทนที่จะเรียกว่าไม้โตช้าหรือไม้โตเร็ว น่าจะใช้คำว่าไม้ที่มีอายุการตัดฟันสั้นและไม้ที่มีอายุการตัดฟันยาวจะถูกต้องและเหมาะสมกว่า ซึ่งโดยนัยดังกล่าวทำให้สามารถแบ่งไม้ในสวนป่าเศรษฐกิจออกได้ 3 ประเภทคือ

1.ไม้โตเร็วที่มีอายุการตัดฟันสั้น มีเส้นรอบวงที่ระดับอกวัดได้ 100 เซนติเมตร เมื่ออายุไม่เกิน15 ปี และมีอายุการตัดฟันไม่เกิน 10 ปี เช่นไม้ยูคาลิปตัส ไม้เพาโลว์เนียและ ไม้หูช้าง
2.ไม้ที่มีอายุการตัดฟันปานกลาง มีอายุการตัดฟัน 10-30 ปี เช่น ไม้ยางพารา ไม้สนเขา
3.ไม้ที่มีอายุการตัดฟันยาว มีอายุการตัดฟันตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป เช่น ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้พยุง

เมื่อมีชนิดไม้เศรษฐกิจที่ต้องการปลูกอยู่ในใจแล้ว และถามว่าควรจะปลูกไม้ชนิดดังกล่าวที่ใดนั้น ก็จำเป็นจะต้องนำเอาปัจจัยต่างๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ตลาดที่จะรองรับไม้ ราคาไม้ สภาพแวดล้อมและ ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น ไม้สักจะต้องปลูกในที่ซึ่งความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 800 เมตร ดินควรจะลึก สลายตัวมาจากภูเขาหินปูน มีการระบายน้ำดี
ไม้ยูคาลิปตัสไม่ชอบดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างมากๆ หากปลูกเพื่อขายเป็นวัตถุดิบให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมชิ้นไม้สับซึ่งรับซื้อที่หน้าโรงงานตันละประมาณ 1,200บาท สวนป่าก็ควรจะอยู่ห่างจากโรงงานในรัศมีไม่เกิน กิโลเมตร

การปลูกไผ่เพื่อขายหน่อจะต้องคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ของด

   
   
   
 
Post ID12029
กลุ่มสินค้าเดียวกัน
หัวข้อการขาย การปลูกไม้เศรษฐกิจ
ราคา xx บาท
เวลาประกาศ2009-01-29 08:36:59
เวลาแก้ไขประกาศ29-01-2009 08:36:59
ติดต่อ ชื่อ
โทร ติดต่อ xxx / -
จำนวนครั้งที่เปิดดู 996
จังหวัด